โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease) มีสาเหตุสำคัญจากการที่มีกรดออกมามากเกินไปในขณะย่อยอาหาร หรืออาจเกิดจากการที่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวผิดปกติ ทำให้กรดส่วนหนึ่งไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ผู้คนส่วนมากที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนมักมีสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ รับประทานอาหารมากเกินไป หรือเร็วเกินไป นั่นทำให้ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” เป็นวิธีสำคัญที่สามารถป้องกันและรักษาโรคกรดไหลย้อนได้1.อย่าเครียดเกินไปความเครียดส่งผลให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ และหลอดอาหารทำงานน้อยลง แต่มีการหลั่งกรดมากขึ้น หากคุณมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ เช่น รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รับประทานอาหารดึกๆ รับประทานเสร็จแล้วนอนทันที หรือไม่มีเวลาออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้มีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น2.อย่าเข้านอนทันที หลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆการนอนในขณะที่กระเพาะอาหารยังเต็มแน่นไปด้วยอาหารทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างถูกดันให้คลายตัว ส่งผลให้อาหารและกรดจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นไป หลังจากนั้นจะเกิดอาการกรดไหลย้อนตามมา3.อย่ารับประทานเร็วเกินไปการรับประทานเร็วเกินไป เคี้ยวน้อยลง จะทำให้ระบบทางเดินอาหารต้องทำงานหนักมากขึ้นแถมยังทำให้อาหารไม่ย่อย ท้องอืด และกรดไหลย้อนตามมาได้ ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ช้าลงและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนคำแนะนำ: ให้เคี้ยวอาหาร 20 ครั้ง หรือนับให้ถึง 20 ครั้งก่อนที่จะรับประทานคำถัดไป4.อย่าดื่มหนักเกินไปแอลกอฮอล์เพิ่มปริมาณการสร้างกรดในกระเพาะอาหารและทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัว หากต้องการดื่มแอลกอฮอล์บ้างสามารถเลือกวิธีต่อไปนี้ -เลือกเบียร์ หรือไวน์ชนิดปราศจากแอลกอฮอล์-จำกัดการดื่มไว้ที่เหล้าผสมไม่เกินหนึ่งถึงสองแก้ว ไวน์ไม่เกินสิบหกออนซ์ และเบียร์ไม่เกินสามแก้ว-ดื่มไวน์ขาวแทนไวน์แดง-เจือจางเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยน้ำ หรือโซดา-สังเกตว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใดที่ทำให้มีอาการกรดไหลย้อนและหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลดการหลั่งกรดให้น้อยลง หรืออาจจะทำกิจกรรมอย่างอื่น เช่น นั่งสมาธิ นอนหลับ อ่านหนังสือเล่มโปรด เรียกว่าทำอะไรก็ได้ที่ช่วยให้ลดความเครียด6. อย่านอนหงายราบเวลานอนเมื่อรู้สึกมีอาการของกรดไหลย้อน ไม่ควรนอนหงายราบเพราะอาหารในกระเพาะจะกดทับหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ทำให้กรดไหลย้อน แนะนำให้หนุนที่นอนตั้งแต่ช่วงอก ไหล่ และศีรษะให้สูงขึ้นจะช่วยลดแรงกดดังกล่าวได้7.อย่ารับประทานมากเกินไปควรแบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ 5-6 มื้อต่อวัน หรือรับประทานเป็นอาหารหลัก 3 มื้อเล็กๆ และอาหารเสริมอีก 3 มื้อก็ได้ การรับประทานแบบนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากเกินไป ทำให้ลดอาการแสบร้อนยอดอกได้เป็นอย่างดี8.ไม่รับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนอาหารหลายชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ อาหารเหล่านั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทที่ 1 อาหารที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวในเวลาที่ไม่ควร-อาหารทอด อาหารมันๆ-ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมันเนย-เครื่องดื่มมีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม กาแฟ ชา และโกโก้ประเภทที่ 2 อาหารที่ทำให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากเกินไป-เครื่องดื่มมีคาเฟอีน-น้ำอัดลม-แอลกอฮอล์-อาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด -พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ 9.นั่งตัวตรงเมื่อรับประทานอาหารเสร็จให้ยืนหรือนั่งตัวตรงอย่างน้อยประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อรอให้อาหารย่อยผ่านกระเพาะอาหารเรียบร้อยเสียก่อน10.อย่าใส่เสื้อผ้าที่คับแน่นเกินไปการแต่งกายด้วยเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับที่รัดแน่นบริเวณท้อง เช่น เข็มขัด หรือสายรัดเอว อาจบีบกระเพาะอาหารให้ดันอาหารและกรดผ่านหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารได้
ร่างกายของเรานั้นไม่สามารถผลิตแคลเซียมเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเมื่ออายุมากขึ้นมวลกระดูกยิ่งลดลง สำหรับผู้ชายมวลกระดูกลดลง1-2%ต่อปี ส่วนผู้หญิงนั้นจะลดลง3-5%ต่อปีเมื่อหมดเมนส์จากงานวิจัยพบว่าคนไทย50%ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอและ90%เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนแม้แคลเซียมจะเป็นสารอาหารที่หากินง่าย แต่ยังมีคนได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเพราะมีหลายสิ่งส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมอะไรบ้างที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม1.อายุที่เพิ่มขึ้น โดยวัยเด็กจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ประมาณ60% วัยผู้ใหญ่จะดูดซึมแคลเซียมได้ประมาณ15-20% และวัยชราจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่า15%2.วิตามินดี หากกินแคลเซียมจะสามารถดูดซึมได้แค่10-15% แต่ถ้าหากกินทั้งแคลเซียมและวิตามินดีจะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้นถึง30-35%3.อาหารอื่นๆ สารอาหารบางชนิดจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ทำให้เราได้รับแคลเซียมจากอาหารน้อยลง จึงไม่ควรกินอาหารเหล่านี้คู่กับแคลเซียมเช่น Oxalic acid ผักปวยเล้ง มันหวาน ถั่วลิสง คาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์